ขนมไทย เอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทย ขั้นตอนการทำละเอียดอ่อนประณีต ใส่ใจพิถีพิถันทุกขั้นตอน รสชาติหอมหวาน สีสันสวยงาม หน้าตาน่ารับประทาน ขนมไทยยังแฝงไปด้วยความอ่อนช้อย รวมถึงภูมิปัญญาไทย เนื่องจากขนมไทยมักใช้วัสดุที่อยู่ตามท้องถิ่นมาปรุงแต่ง จัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีการสืบทอดมายาวนาน ขั้นตอนการทำละเมียดละไม สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยเป็นคนใจเย็น รักสงบ
ขนมไทย ถูกใช้ในงานทำบุญเลี้ยงพระ งานมงคล และงานพิธีการโดยส่วนใหญ่เลือกขนมมงคล 9 อย่าง ได้แก่ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมชั้น ขนมทองเอก ขนมเม็ดขนน ขนมจ่ามงกุฎ ขนมถ้วยฟู ขนมเสน่ห์จันทน์ เป็นต้น แต่ละชนิดมีรูปลักษณ์โดดเด่น รสชาติอร่อย หน้าตาน่ารับประทาน โดยขนมมงคล 9 ชนิด มีชื่อเรียกที่บ่งบอกคุณค่า และยังแฝงไปด้วยความหมาย อันเป็นสิริมงคลของไทย
วัตถุดิบในการปรุงขนมไทย ได้แก่
- ข้าวและแป้ง
- มะพร้าว และ กะทิ
- น้ำตาล
- ไข่
- ถั่วและงา
- กล้วย
- สี
- กลิ่นหอม
ปัจจุบันขนมไทยมีความก้าวหน้าอย่างมาก มีการดัดแปลง ปรับเปลี่ยนต่างๆ ให้มีความทันสมัย สวยงามมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสีสีน รูปทรง รวมถึงรสชาติ แต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ไทย โดยเฉพาะความมัน หอมหวานของขนมไทย ที่ได้มาจาก “กะทิ” ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่คู่กับขนมไทยมาช้านาน ช่วยเพิ่มรสชาติ ความอร่อยได้เป็นอย่างดี
กะทิสำคัญอย่างไร ได้มาจากอะไร
กะทิ เป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำอาหาคาว หวาน มีลักษณะน้ำสีขาวข้น ได้จากการคั้นน้ำจากเนื้อมะพร้าว ความเข้มข้นขึ้นอยู่กับชนิดมะพร้าว รสชาติกะทิมีความเข้มข้น รสชาติมัน และหวาน มักนิยมนำมาเป็นส่วนผสมในอาหารคาวหวานไทย โดยเฉพาะขนมหวาน ดังนี้
ไอศกรีมกะทิสด
เมืองไทย มีสภาพอากาศร้อน ไอศกรีมกะทิ ช่วยเพิ่มความสนชื่น คลายร้อนได้ดี มีความหอม มันของกะทิสด
บัวลอยไข่หวาน
หอมหวาน แป้งนุ่มเคี้ยวหนึบ เน้นน้ำกะทิหอมหวานเข้มข้น เพิ่มความพิเศษด้วยไข่หวานเคี้ยวทานพร้อมบัวลอย
ข้าวเหนียวมะม่วง
ข้าวเหนียวมูล นุ่มฉ่ำ ราดกะทิสด กับ มะม่วงน้ำดอกไม้ เพิ่มความน่ารับประทานด้วยการโรยถั่วเหลืองซีก
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก https://waterlibrary.com/